ไทยเบฟ : มท. แจงปมสั่งจัดหาวัคซีนอยู่ในขั้น “รวบรวมข้อมูล” กทม. ผ่อนคลายเปิดสถานที่

getty

ที่มาของภาพ, Getty Images

ศบค. มหาดไทย หรือศูนย์โควิดฯ มท. ชี้แจงกรณีหนังสือส่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ จัดหาวัคซีนให้พนักงานบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ และครอบครัวของพนักงานกว่า 71,000 คน เป็นการรวบรวมข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยง

โทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทยจากศูนย์โควิดฯ มท. ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ลงท้ายหนังสื่อด้วยชื่อ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า “ให้จังหวัดพิจารณาให้การสนับสนุนวัคซีน” ภายหลังบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคให้กับพนักงาน 43,201 คน และครอบครัวของพนักงานบริษัทไทยเบฟฯ 28,244 คน ใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รวม 71,445 คน

โทรสารราชการในกระทรวงมหาดไทย ฉบับนี้ ลงวันที่เมื่อ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่า ศบค. มหาดไทย พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัท ไทยเบฟฯ “เป็นภาคเอกชนที่มีภารกิจและโครงสร้างการดำเนินงานในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ” ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับพนักงานและครอบครัวของพนักงาน จึงให้จังหวัดพิจารณาให้การสนับสนุนวัคซีน ตามหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติของจังหวัด หนังสือดังกล่าวระบุด้วยว่า “กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้แจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาสนับสนุนวัคซีนฯ ให้บริษัทฯ ด้วยแล้ว”

จากเอกสารดังกล่าว ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นช่องทางพิเศษของบริษัทขนาดใหญ่ ในขณะที่ประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม ยังไม่ได้รับจัดสรรวัคซีนทั่วถึง

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชี้แจงกับบีบีซีไทยว่า ยังไม่มีการจัดหาวัคซีนให้กับบริษัท ไทยเบฟฯ

“ยังไม่มีการจัดสรรใด ๆ ครับ เป็นรวบรวมข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ที่มีความเสี่ยง ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน” นายฉัตรชัย ตอบกลับบีบีซีไทย เมื่อสอบถามคำชี้แจงกรณีบริษัท ไทยเบฟฯ

ปลัดกระทรวงมหาดไทย ยังได้ส่งเอกสารข่าวของกองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้บีบีซีไทย โดยใจความชี้แจงว่า ศบค. มหาดไทย ได้รับแจ้งจากสำนักงานเลขาธิการ ศบค. และหน่วยงานต่าง ๆ “เพื่อขอรับการสนับสนุนวัคซีนสำหรับฉีดให้กับบุคลากรในสังกัดจากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน” เช่น ส่วนราชการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมตลาดสดไทย สมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย บริษัทและสถานประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่ง ศบค. มหาดไทย ได้แจ้งข้อมูลการขอรับการสนับสนุนวัคซีนข้างต้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผน

เอกสารข่าวระบุด้วยว่า นายฉัตรชัยได้เน้นย้ำไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหารือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพื่อวางระบบการบริหารการฉีดวัคซีนให้เป็น มาตรฐานเดียวกัน ครอบคลุม ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ เป็นไปตามมติ ศบค. และแนวทางที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย “พร้อมสร้างการรับรู้แก่องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน โรงงาน สถานประกอบการ องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยในกรณีองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความประสงค์จะขอรับวัคซีนให้กับบุคลากรสามารถแจ้งความประสงค์ไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด”

ในกรณีองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรอยู่ในหลายจังหวัด หรือองค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานต่างชาติ ที่ติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ สามารถแจ้งหนังสือไปยังอธิบดีกรมควบคุมโรค เพื่อขอรับวัคซีนไปฉีดให้บุคลากรในสังกัด โดยหาสถานพยาบาลรองรับการฉีดเอง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

วัคซีนซิโนฟาร์ม 1 ล้านโดส จัดเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิถูกขนส่งไปจัดเก็บยังคลังวัคซีน บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของวัคซีนโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผู้ว่า กทม. ผ่อนคลายเปิดสถานที่ มีผล 21 มิ.ย.

วันเดียวกัน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงนามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 33) ความว่า เพื่อเป็นการผ่อนคลายให้บางสถานที่สามารถเปิดดำเนินการ หรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ ตามข้อกำหนด ผู้ว่า กทม.จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม สามารถเปิดดำเนินการบางอย่างได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • สระว่ายน้ำสาธารณะ หรือ กิจกรรมอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
  • สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬา หรือ กิจกรรมทางน้ำในบึง เช่น เจ็ตสกี ไคท์เซิร์ฟ เครื่องเล่นประเภทบานานาโบ้ต โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นตามจำนวนเครื่องเล่นและขนาดพื้นที่ สามารถเปิดบริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม เมื่อได้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
  • ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม และหอศิลป์
  • ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดเอกชน และบ้านหนังสือ
  • ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น. แต่ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน โดยจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านเฉพาะที่เป็นการบริโภคในห้องปรับอากาศไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนที่นั่งปกติ
  • สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้ง หรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง หรือสนามกีฬา หรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทในร่มที่อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดการแข่งขันได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม เมื่อได้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
  • ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ
  • การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น การประชุม การสัมมนา การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ การเข้าค่าย การถ่ายทำภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ กิจกรรมทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การพบปะญาติผู้ใหญ่ ให้ดำเนินการโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน
กรุงเทพ

กรุงเทพ

กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย

Next Post

บทความแนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.