กทม.ประสานหน่วยงาน ส่งทีมตรวจเชิงรุกโควิด-19 ประชาชนในเขตพื้นที่ติดต่อ จ.ปทุมฯ

This image is not belong to us

กทม.ประสานหน่วยงาน ส่งทีมตรวจเชิงรุกโควิด-19 ประชาชนในเขตพื้นที่ติดต่อ จ.ปทุมฯ

วันนี้ (2 มีนาคม 2564) พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร (ศบค.กทม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม ศบค.กทม. ครั้งที่ 21/2564 ที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) ว่า ที่ประชุมกล่าวถึงสถานการณ์การพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดย กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถสอบสวนโรคและควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้อย่างน่าพอใจ

This image is not belong to us

“อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้กำชับให้คณะทำงานด้านการประสานงานการดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งมีสำนักเทศกิจ เป็นเลขานุการคณะทำงาน ประสานสำนักงานเขตและหน่วยงานต่างๆ อาทิ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กอ.รมน.กทม. เป็นต้น เข้มงวดตรวจตราสถานประกอบการ กิจการ กิจกรรมที่ได้รับการผ่อนปรน โดยเฉพาะสถานประกอบการผับ บาร์ คาราโอเกะ เป็นต้น เพื่อให้เจ้าของ ผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้ใช้บริการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ตามที่หน่วยงานราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด อาทิ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การใช้เพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” หรือ “หมอชนะ” เป็นต้น” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

พล.ต.ท.โสภณ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กทม. โดยสำนักอนามัย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค (สปคม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ปฏิบัติการตรวจเชิงรุกในสถานประกอบการ ตลาด และชุมชน ในพื้นที่เขตหนองแขม บางขุนเทียน บางแค จอมทอง บางบอน และเขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นเขตติดต่อจ.สมุทรสาคร และที่ผ่านมา เป็นเขตที่มีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จำนวนมาก รวมทั้งได้ดำเนินการตรวจเชิงรุกในสถานที่และบุคคลต่างๆ ตามข้อมูลการสอบสวนโรคของผู้ติดเชื้อ โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2564) ตรวจเชิงรุก รวมทั้งสิ้น 66,157 ราย พบผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 126 คน ทั้งนี้กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงกำหนดแผนการตรวจโควิดเชิงรุกเพิ่มเติมในชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงกับ จ.ปทุมธานี ประกอบด้วย ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน สายไหม และคลองสามวา

“โดย สปคม. จะนำรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน ไปเก็บสิ่งส่งตรวจ หรือ สวอป (swab) ระหว่างวันที่ 11-31 มี นาคมนี้ โดยจะสุ่มสวอปประชาชนในชุมชนที่จดทะเบียนกับ กทม.ทุกชุมชนๆ ละ 50 คน สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1.ผู้ทำงานในสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว 2.ผู้ที่เคยเดินทางไปพื้นที่จอมทอง หนองแขม บางบอน บางแค บางขุนเทียน จ.ปทุมธานี หรือ จ.สมุทรสาคร 3.บริเวณที่พักที่มีแรงงานต่างด้าว เป็นต้น” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

พล.ต.ท.โสภณ กล่าวว่า สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระยะยาว ในพื้นที่เขตติดต่อจ.สมุทรสาคร กทม. ได้ร่วมกับ สปคม. ภาคีเครือข่าย อาทิ มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิศุภนิมิต องค์การอนามัยโลก และสถานประกอบการ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) พื้นที่กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้ารับการอบรม รวมจำนวน 70 คน เป็นแรงงานต่างด้าวจากสถานประกอบการ 9 แห่ง ได้แก่ บริษัท แอดด้า (ADDA) บริษัท เอช จี เพลทติ้ง จำกัด บริษัท มิลล์คอนสตีล จำกัด มหาชน บริษัท เฮงสกรู จำกัด หจก.ลีลาแหอวน บริษัท ห้องเย็นท่าข้าม จำกัด รวมทั้งแรงงานต่างด้าวจากตลาดพรวิชัย และตลาดปากซอยเทียนทะเล 8 โดยให้ความรู้เรื่องโควิด-19 บทบาทหน้าที่ของ อสต. การเฝ้าระวังโรคในชุมชน การสำรวจชุมชน และการคัดกรองโรคโควิด-19 พร้อมทั้งได้คัดเลือกตัวแทนโรงงานละ 1 คน เป็นหัวหน้า อสต. เพื่อติดต่อสื่อสาร ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และมอบให้ อสต.ทุกคน ไปสำรวจสถานะสุขภาพของเพื่อนบ้านคนละ 10 ครัวเรือน ตามแบบฟอร์มที่ทางทีมงานจัดทำขึ้น เพื่อให้การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างต่อเนื่องต่อไป


กรุงเทพ

กรุงเทพ

กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย

Next Post

บทความแนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.