ชุมชนกุฎีจีน – กรุงเทพมหานครกิจกรรม
ผลิตภัณฑ์ / ตราสินค้า :
เจ้าของบริษัท/ฝ่ายการตลาด/ฝ่ายข้อมูล มีความสนใจที่จะลงโฆษณา ยี่ห้อสินค้า, ผลิตภัณฑ์, ตราสินค้า หรือปรับฐานข้อมูลให้ ล่าสุด ติดต่อสอบถามได้ที่อีเมล์
ข้อมูล : ชุมชนกุฎีจีน อยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรี โดยประกอบด้วยความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนาของชุมชนแห่งนี้ คือมีทั้งชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ชาวจีน มุสลิม มีทั้งศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม สถานที่สำคัญภายในชุมชน ได้แก่ โบสถ์ซางตาครูส มีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินให้ชาวไทย จีน โปรตุเกส อาศัยในบริเวณนี้ และได้มีการสร้างโบสถ์ซางตาครูสขึ้นเป็นอาคารไม้ ต่อมาไฟไหม้ และได้สร้างขึ้นใหม่ เป็นสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค สมัยเรอเนสซองส์ ศาลเจ้าเกียนอันกง สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ศาลเจ้ามีความสวยงามของเครื่องไม้แกะสลัก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง และมีสิ่งสำคัญคือ เจ้าแม่กวนอิม อายุกว่า 100 ปี และศาลเจ้าแห่งนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน สถานที่รวบรวมข้อมูลที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของชุมชนกุฎีจีน พร้อมจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ และชั้นบนของพิพิธภัณฑ์มีจุดชมทัศนียภาพโดยรอบของชุมชนกุฎีจีน นอกจากนี้ มีขนมที่ขึ้นชื่อของชุมชนแห่งนี้ ขนมฝรั่งกุฎีจีน ที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาจนถึงปัจจุบัน และ บ้านสกุลทอง มีอาหารไทยโบราณที่หารับประทานได้ยากให้ลิ้มลอง ซึ่งเป็นตำรับการปรุงอาหารของห้องเครื่องฝ่ายใน ในสมัยรัชกาลที่ 5 สถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ประดิษฐาน พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ “หลวงพ่อโต” หรือที่ชาวจีนเรียกท่านว่า “ซำปอฮุดกง” หรือ “ซำปอกง” และในพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์ การเดินทาง ลงเรือจากท่าเรืออัษฎางค์ ปากคลองตลาด มาที่ท่าเรือวัดกัลยาณมิตร หรือชุมชนกุฎีจีน หรือที่ชาวจีนเรียกท่านว่า “ะธาน พระไตรรัตนนายก้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 มี ชุมชนกุฎีจีน ปัตยกรรมดีเด่น
ประเภท : กิจกรรม
ที่ตั้ง : ซอยวัดกัลยาณ์ วัดกัลยาณ์ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
โทรศัพท์ :
โทรสาร :n/a
อีเมลล์ :
เว็บไซท์ :
จุดเด่น : เงินสด
แผนที่เดินทางไปยัง ชุมชนกุฎีจีน – กรุงเทพมหานคร