กทม.พร้อมให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 7 กลุ่มเสี่ยง 1 พ.ค. – 31 ส.ค.นี้ ลงทะเบียนฉีดฟรี

This image is not belong to us

กทม.พร้อมให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 7 กลุ่มเสี่ยง 1 พ.ค. – 31 ส.ค.นี้ ลงทะเบียนฉีดฟรี!

นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้บริการกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โรคธารัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) และโรคอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร) ซึ่งทำการรักษาในโรงพยาบาลสังกัด กทม. และศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.ทุกแห่ง

โดยสามารถจองสิทธิฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ล่วงหน้าได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 ผ่าน 4 ช่องทาง ประกอบด้วย 1.สายด่วน สปสช. โทร.1330 กด 1 จากนั้นกด 8 ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น. (ทั่วประเทศ) 2.หน่วยบริการประจำ หรือในระบบบัตรทอง (ทั่วประเทศ) 3. Line : @UCBKK สร้างสุข (เฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทอง หรือพักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ) ให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. และ (4) Health Wallet ภายในแอพพลิเคชันเป๋าตัง และเข้ารับบริการฉีดวัคซีนฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2564

สำหรับประชาชนที่ไม่อยู่ในข่าย 7 กลุ่มเสี่ยง หากเกิดอาการป่วยเป็นไข้หวัดและอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ให้รีบพบแพทย์ทันที โดยประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับบริการตามสิทธิที่หน่วยบริการประจำโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกัน กทม.ยังได้วางแผนซักซ้อม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการบริการวัคซีนดังกล่าวให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ และเครือข่ายภาคประชาชน รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุข กทม. เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเว้นระยะในการรับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด-19 ตามแนวทางและข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรค

นางศิลปสวย กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่กับโรคโควิด-19 เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่มีลักษณะคล้ายกันมาก ไม่สามารถแยกได้ด้วยอาการ อีกทั้งประชาชนกลุ่มเป้าหมายของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับวัคซีนโควิด-19 ยังมีความใกล้เคียงและทับซ้อนกันอยู่ การเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาลจะส่งผลให้ผู้รับวัคซีนได้ตรวจสอบสิทธิในการรับวัคซีนโควิด-19 ด้วย ดังนั้น สำนักการแพทย์ กทม.จึงมีบริการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแยกประเภทของกลุ่มโรคตามอาการและเตรียมพร้อมระบบเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามมาตรการป้องกันและควบคุมอย่างต่อเนื่อง

โดยประชาชนสามารถรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด กทม. และศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ทั้ง 69 แห่ง รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความรุนแรงจากการเจ็บป่วยของโรค ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่ผลิตมาไม่นานและยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการให้วัคซีนนี้ควบคู่กับวัคซีนอื่น ดังนั้น เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ขอให้เลี่ยงการรับวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนชนิดอื่นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนพร้อมกันและการรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกัน

This image is not belong to us

This image is not belong to us

This image is not belong to us


กรุงเทพ

กรุงเทพ

กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย

Next Post

บทความแนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.