มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กผู้บริโกค ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐนตรี คัดค้านการขึ้นราคารถไฟฟ้าสายสีเขียว 16 ก.พ. พร้อมข้อเสนอ 5 ข้อ ย้ำรถไฟฟ้าต้องเป็นบริกาขนส่งมวลชนที่ทุกคนขึ้นได้ ขอให้ค่ารถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ
วันนี้ (8 ก.พ.)เวลา 10.00 น.ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค นำโดย นางสารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค นายกนกนุช แสงแถลง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนจกมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร และเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายเป็น 104 บาท ซึ่งจะเริ่มขึ้นราคาในวันที่ที่ 16 ก.พ.นี้
โดยมีนายสมพาศนิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับหนังสือจากผู้ร้องเรียน
นางสารีกล่าวว่าจากกรณีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 กรุงเทพมหานคร และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีที่เอส ประกศว่าจะปรับอัตรคำโดยสารรถไฟฟ้สายสีเขียว (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) เป็นสูงสดไม่กิน 104 บาท ชั่วคราว) ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นตันไป องค์กรผู้บริโภคเห็นว่าการออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น เป็นการออกประกาศโดยไม่รับฟังเสียงคัดค้านจากกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง นักวิชการและองค์กรผู้บริโภค ถึงประเด็นความไม่โปร่งใส ขัดต่อกฎหมาย ไม่เปิดเผยรายละเอียดสัญญา สัมปทา ค่าโดยสาแผงเกินไปเป็นภาระของผู้บริโภค เร่งรีบขยายสัญญสัมปทานให้เอกชนทั้งที่ระยะเวลายังเหลืออีก 9 ปี ซึ่งจะป็นสร้างภาระผูกพันต่อประโยชน์ของรัฐและประชาชนส่วนรวมต่อเนื่องนานถึง 39 ปี
อีกทั้งการประกาศเก็บคำโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานครโดยไม่รอผลการอนุมัติจากมติคณะรัฐมตรี ยังเข้าข่ายเป็นคำสั่งทาปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 พฤศจิกาย 2561 ที่ให้กรุงเทพมหานครต้องคำนึงถึงราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและกำหนดค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เหมาะสมเป็นธรรมไม่ให้ป็นภาระต่อผู้บริโภค และขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พศ. 252 มาตร 96 ที่กำหนดให้กรอนุมัติขึ้นราคาต้องผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จากปัญหาที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงปัญหาการบริหารงานของกรุงเทพมหานครที่ขาดประสิทธิภาพและหลักธรรมาภิบาลต่อรัฐและประชาชนตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมทั้งการเข้าถึงบริการขนส่งมวลชนที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนของผู้บริโภคในปัจจุบัน ขณะที่รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมประชาชนข้าถึงระบขนส่งมวลชนได้เพิ่มขึ้นอย่งปลอดภัย ทุกคนสามารถจ่ายค่าโดยสารได้อย่างเท่าเทียมเหมาะสมเป็นธรรม
เพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นมีข้อยุติที่สามารถคลายสถานการณ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและไม่เป็นภาระของของผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมีข้อเสนอเร่งด่วนที่สำคัญต่อการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้
1. ขอให้นายกรัมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งชะลอแผนการขยายสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟทำสายสีเขียวโดยทันที และให้กรุงเทพมหานครหยุดกรณีเรียกเก็บค่าโดยสารในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ออกไปก่อน เพื่อดำเนิการให้บริการรถไพฟ้าซึ่งเป็นบริการขนส่งมวลชนได้รับการพัฒนาและประชาชนสามารถใช้บริการได้เพิ่มขึ้นในราคาที่ถูกลงในวิกฤตมลภาวะทางอากาศ หรือปัญหา PM 2.5 ในปัจจุบัน
2. ขอให้เปิดเผขอมูลรายละเอียดสัญญาสัมปทานต่อสาธารณะ เพื่อรับฟังความเห็นจากองค์กรผู้บริโภค นักวิชาการ และภาคประชาชนที่ได้ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพ อนามัย จากการดำเนินการของรัฐ ตามมาตร 58 และมาตรา 61 ของรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ความเห็นชอบ
3. ขอให้ทบทวนสัญญสัมปทานการเดินรถไฟฟ้ทุกเส้นทางในปัจจุบัน และสัญญาที่จะทำในอนาคตเพื่อศึกษาผลกระทบและกำหนดแนวทางให้เกิดความป็นธรรมเรื่องราคากับผู้บริโภคที่จะทำให้เกิดการใช้บริการถไฟฟ้มากขึ้นและป็นบริการขนส่งมวลชนสำหรับคนทุกคน รวมถึงยกเว้นค่าแรกเข้ากรณีโดยสารรถไฟฟ้าข้ามสาย พัฒนาระบบตั๋วร่วมและระบบการเชื่อมโยงบริการขนส่งมวลชนทุกประเภท เพื่อความสะดวกปลอดภัยของผู้บริโภคที่ใช้บริการ
4. ขอให้กำหนดสัดส่วนของคบริกาขนส่งมวลชนต่อรายได้ขั้นต่ำของประชาชนต่อวันต้องไม่เกิน 10% ของคำแรงขั้นต่ำ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มข้าถึงและใช้บริการได้จากปัจจุบันค่าโดยสารที่กำหนด 104 บาทต่อเที่ยวตลอดสายสูงถึง 63% ของค่าแรงขั้นต่ำ และ5. ขอให้ฐบาลประกาศนโยบายให้รถไฟฟ้าเป็นบริการขนส่งมวลชนที่ทุกคนต้องขึ้นได้ไม่ใช่บริการทางเลือกของผู้บริโภค