สรุปผลการตรวจคัดกรอง ในชุมชนเมืองด้วยชุดตรวจ Antigen Test kit ตลอดทั้ง 6 วัน โดยทีมแพทยชนบท ทั้ง 41 ทีม พร้อมกับคัดกรองอาการผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อนำเข้าสู่ระบบการรักษาที่เหมาะสม เช่น ถ้าพบว่าป่วยก็แจกยาฟ้าทะลายโจรและยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ในการดูแลรักษาตนเอง และถ้าไม่ป่วยแต่เป็นกลุ่มเสี่ยงก็ฉีดวัคซีนเลยให้เลย
ติดโควิดยกครัว 3 คน แม่ป่วยติดเตียง-พ่อท้องเสีย ลูกหวั่นอาการทรุดทั้งคู่
เช็กคลัสเตอร์ใหม่อีก 3 แห่ง “สมุทรสาคร-ราชบุรี-ปราจีนบุรี” ย้ำ โรงงานทำ Bubble and Seal
ปฏิบัติเชิงรุกครั้งนี้ มีการตรวจไปทั้งหมด 321 ชุมชน มีชาวบ้านเข้ารับการตรวจ กว่า 1.1 แสนคน พบ “ผลบวก” กว่า 1.2 หมื่นคน หรือ 10.7 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่เข้ารับการตรวจทั้งหมด
ภาพรวมของทั้งประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 21,038 ราย เสียชีวิต 207 ราย ผู้ป่วยรักษาหายแล้วเพิ่มขึ้น 22,012 ราย ซึ่งในรายงานของ ศบค. ระบุว่า จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 4,525 ราย
หลายคนมีคำถามว่า ตัวเลขผู้ป่วยในกทม.น่าจะสูงกว่านี้ โดยสังเกตุจากการผลสรุปการตรวจคัดกรองของทีมแพทย์ชนบท ด้วยชุด Antigent test kit หรือ ATK ซึ่ง นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. ชี้แจงว่า กรณีผลตรวจ Antigent test kit นั้น จะไม่นับรวมในตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวัน เนื่องจาก การตรวจแบบ ATK ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าติดเชื้อ แต่สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้
ข้อมูลจากศบค.ระบุด้วยว่า ประเทศไทย ทั้ง 77 จังหวัด เจอสายพันธุ์เดลตาครบทุกจังหวัดแล้ว และตอนนี้พบว่ามี 13 จังหวัด เผชิญปัญหาเตียงรักษา ว่างไม่ถึง 20% ทั้งพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา บึงกาฬ หนองบัวลำภู หนองคาย มหาสารคาม นครสวรรค์ ราชบุรี สมุทรสงคราม นครนายก พิจิตร สมุทรสาคร และภูเก็ต
ส่วนกรุงเทพมหานคร ศบค. บอกว่าสถานการณ์เตียงจัดอยู่ในโซนสีส้ม คือมีเตียงว่าง 21-40% ขณะที่อัตราการเสียชีวิต ศบค.บอกว่า 3 จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด คือ กทม. 1 แสนคน พบคนเสียชีวิต 6.85 คน / แสนคน สมุทรสาคร 1 แสนคน พบคนเสียชีวิต 6.18 คน / แสนคน และ ปัตตานี 1 แสนคน พบคน เสียชีวิต 5.11 คน / แสนคน
ที่ผ่านมาเราเข้าใจกันว่าผู้ป่วยโควิดที่รักษาหายแล้ว น่าจะมีภูมิคุ้มกันไปได้สักช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อวานนี้มีรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่ขับรถฉุกเฉิน รับส่งผู้ป่วยของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ติดเชื้อโควิดรอบสอง ภายในระยะเวลา แค่เพียง 1 เดือนเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวตรวจสอบไปยังต้นสังกัด จนพบนายวชิระ เกตุแก้ว อายุ 39 ปี ซึ่งเป็นพนักงานขับรถฉุกเฉิน รับส่งผู้ป่วยของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเขาเปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังพักรักษาตัวที่ฮอสพิเทล เฮ้าส์ หลังจากมีการตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด – 19 เมื่อช่วงเช้าของเมื่อวานวันนี้ แต่ยังไม่ค่อยแสดงอาการ มีเพียงไข้เล็กน้อย เขาเชื่อว่าจะได้รับเชื้อมาจากภรรยา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา และเป็นผู้ติดเชื้อยืนยัน
ซึ่งในส่วนของนายวชิระ ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็มแรก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม หลังจากนั้น ก็ติดเชื้อโควิด รอบแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน จนรักษาหายสามารถกลับมาทำงานได้ปกติ และมีคิวได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ในวันที่ 11 สิงหาคม คือวันนี้ ส่วนภรรยาได้รับวัคซีนซิโนแวค มาแล้ว 2 เข็ม และจะได้ฉีดไฟเซอร์ เป็นเข็มที่ 3 แต่มาติดเชื้อก่อนจึงทำให้ยังไม่ได้ฉีด
ทางด้าน นพ.โชคชัย ลีโทชวลิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ออกมาชี้แจงในกรณีนี้ว่า การติตเชื้อโควิดรอบ 2 ของนายวชิระ นั้นยังไม่ยืนยันว่าเป็นเชื้อใหม่ที่ติดจากภรรยา หรือว่าเป็นเชื้อเก่า ที่มีโอกาสฟักตัวได้ เนื่องจากพนักงานคนขับรถดังกล่าวเพิ่งจะรักษาหายได้เพียง 1 เดือน ถือว่าเป็นเคสแรก และเคสตัวอย่าง พบได้น้อยในทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ได้ทำการเก็บเชื้อนำไปวิจัยว่าเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้ออะไรและเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอะไร และสามารถจะติดซ้ำได้อย่างรวดเร็วหรือไม่
ล่าสุดในวันนี้ ทางโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ก็ได้จัดตรวจเชิงรุก ให้กับพนักงานขับรถฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลทั้งหมดอีกครั้งจำนวนทั้งสิ้น 17 ราย ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิด คาดว่ารอผลอย่างชัดเจนอย่างน้อย 2 วัน
อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลจะ ได้เร่งดำเนินการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ให้ บุคลากร ทางการแพทย์ ซึ่งอยู่ในแผนการฉีดอยู่แล้วเร่งดำนเนินการให้เร็วที่สุด
และจาก กรณีนี้ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ให้ความเห็นว่าอาจไม่ใช่การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 แต่อาจเป็นเพราะยังมีซากเชื้อจากหลงเหลืออยู่ทำให้ตรวจพบเชื้ออีกครั้ง ซึ่งบางรายหายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังตรวจเจอซากเชื้อเป็นเวลาถึง 50 วัน แต่ซากเชื้อที่หลงเหลืออยู่จะไม่สามารถแพร่เชื้อต่อและไม่ไปติดคนอื่น สำหรับการติดเชื้อครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถตอบได้ว่าเป็นซากเชื้อของการติดเชื้อครั้งแรกหรือไม่ แต่ถ้าจะบอกว่าเป็นการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ในระยะเวลาเพียงแค่ 1 เดือนกว่า ๆ หรือ 2 เดือน โอกาสเป็นไปได้น้อยมาก
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ รพ.วิชัยยุทธ กล่าวว่า โอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำในครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้แต่มีห้วงระยะเวลา 6-7 เดือน ซึ่งอาจจะเกิดจากภูมิตก จึงต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เพื่อกระตุ้นภูมิให้สูงขึ้น