



เดิมทีเมื่อมีการจัดแข่งขันกรีฑาของเด็กนักเรียนไทยในอดีต มักจะมีการจัดที่สนามของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2477 นาวาโทหลวง ศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ย้ายสนามแข่งขันไปอยู่ที่ท้องสนามหลวงและได้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณตำบลวังใหม่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตรงบริเวณที่เดิมเป็นวังวินเซอร์) เพื่อสร้างเป็นสนามกีฬาและโรงเรียนพลศึกษากลาง โดยสนามกีฬาแห่งใหม่นี้มีชื่อว่าสนามกรีฑาสถาน และทางกรมพลศึกษาได้ย้ายมาประจำการที่นี่ในปี พ.ศ. 2481 พร้อมย้ายการแข่งขันกรีฑาประชาชนชายประจำปีให้มาจัดที่นี่ด้วย อีก 3 ปีต่อมา กรมพลศึกษาได้เปลี่ยนชื่อจากสนามกรีฑาสถานเป็น “สนามศุภชลาสัยกรีฑาสถานแห่งชาติ” หรือที่ผู้คนนิยมเรียกกันว่า “สนามศุภชลาศัย” หรือ “สนามกีฬาแห่งชาติ “ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (สพก.) หรือกรมพลศึกษาเดิม และได้คืนพื้นที่บางส่วน ให้เป็นสถานที่เรียนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และใช้สถานที่บางส่วนเป็นที่ทำการของ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหรือสมาคมเกี่ยวกับกีฬา และนันทนาการอื่น ๆ อีกด้วย ปัจจุบัน สนามฯ แห่งนี้ เป็นทั้งศูนย์บริการประชาชน ศูนย์รวมการทำกิจกรรม ของเหล่านิสิตและนักศึกษา ศูนย์ส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา และสุขภาพสถานที่ออกกำลังกาย แหล่งนันทนาการศูนย์อนุรักษ์ศิลปะมวยไทย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกีฬานันทนาการวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬา ของประเทศอีกด้วย เช่น การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (SEAP Games หรือเซียพเกมส์) ครั้งที่ 1, การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 5, การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (SEAP Games หรือเซียพเกมส์ ) ครั้งที่ 4, การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 16, การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (SEAP Gamesหรือ เซียพเกมส์) ครั้งที่ 8 , การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพควีนส์คัพ เป็นต้น ที่ตั้ง : เลขที่ 154 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร หากต้องการใช้สนาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0 2216 5591,0 2214 0120 ต่อ 3010,3011 และ โทรสาร 0 2214 1801 Blog ท่องเที่ยวตะลุยเที่ยวย่านสาทรใต้ ศูนย์รวมทางศาสนาและความเชื่อออกไปสูดอากาศบนยอดไม้ “ป่าในกรุง” กรุงเทพฯ ก็มีแบบนี้ด้วยพาลุย Wall Art ย่านเจริญกรุงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ทหาร แหล่งเรียนรู้เพื่อรำลึกถึงผู้เสียสละ